Announcement
-เพื่อความสะดวกในการจำ blog ของภาควิชาฯ ท่านสามารถเข้าสู่หน้าเว็บได้อีกทางหนึ่ง คือ www.dmme.co.nr
- Youtube มักจะลบสารคดีที่ผิดลิขสิทธิ๋นะครับ บางสารคดีที่ไปลิ้งมาให้ชมจึงอยู่ไม่นานครับ
Thursday, February 21, 2013
Link member ชมรมศิษเก่าวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ
Link member www.facebook.com/AlumniMnEMaE (ชมรมศิษเก่าวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ)
Department of Mining and Materials Engineering, Faculty of Engineering, Prince of Songkla University (PSU), Thailand.
Department of Mining and Materials Engineering, Faculty of Engineering, Prince of Songkla University (PSU), Thailand.
Link member ชุมชนชาวเหมืองดุ
Link member www.facebook.com/pages/ชุมชนชาวเหมืองดุ/138573342830298
Department of Mining and Materials Engineering, Faculty of Engineering, Prince of Songkla University (PSU), Thailand.
Department of Mining and Materials Engineering, Faculty of Engineering, Prince of Songkla University (PSU), Thailand.
Link member www.facebook.com/tplookphol
Link member www.facebook.com/tplookphol
Department of Mining and Materials Engineering, Faculty of Engineering, Prince of Songkla University (PSU), Thailand.
Department of Mining and Materials Engineering, Faculty of Engineering, Prince of Songkla University (PSU), Thailand.
Link member www.mne.eng.psu.ac.th
Link member www.mne.eng.psu.ac.th
Department of Mining and Materials Engineering, Faculty of Engineering, Prince of Songkla University (PSU), Thailand.
Department of Mining and Materials Engineering, Faculty of Engineering, Prince of Songkla University (PSU), Thailand.
Link member www.ajpoon.co.nr
Link member www.ajpoon.co.nr
Department of Mining and Materials Engineering, Faculty of Engineering, Prince of Songkla University (PSU), Thailand.
Department of Mining and Materials Engineering, Faculty of Engineering, Prince of Songkla University (PSU), Thailand.
Tuesday, February 19, 2013
New short URL - www.dmme.co.nr
New short URL - www.dmme.co.nr, the easier way to go to www.psudmme.blogspot.com
Friday, February 15, 2013
ประวัติภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ
ในปีพุทธศักราช 2510 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้จัดตั้งขึ้นมาพร้อมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในส่วนของภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และ โลหะวิทยามีโครงการจะเปิดภาคฯ มาตั้งแต่ปี 2513 โดยได้งบประมาณด้านครุภัณฑ์เกี่ยวกับเครื่องมือต่างๆ เพื่อใช้ในการเรียนการสอนตั้งแต่ปีงบประมาณ 2514 อาจารย์ธงชัย พึ่งรัศมี ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าภาควิชาฯ คนแรก เมื่อ วันที่ 30 กรกฎาคม 2517 ด้วยความอนุเคราะห์จากกรมทรัพยากรธรณีและศูนย์อุตสาหกรรมเหมืองแร่อนุมัติให้บุคลากรมาช่วยสอน อีกทั้งคุณเรืองศักดิ์ วัชรพงศ์ ผู้จัดการบริษัท อาร์ เอส เอสโซซีเอ็ตเต็ด คอนซิลแทนต์ จำกัด มาช่วยสอนด้วย ทำให้สามารถเปิดทำการสอนในระดับปริญญาตรีได้เป็นภาควิชาที่ 6 ของคณะฯ ในปีการศึกษา 2518 และในปี 2540 ได้เปิดสอนระดับปริญญาตรีอีก 1 สาขา คือ สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ ทั้งนี้มีการขอเปลี่ยนแปลงชื่อภาควิชาให้สื่อความหมายตรงกับสาขาวิชาที่เปิดสอน เป็น “ ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ ”
ในปัจจุบันภาควิชาฯ ได้เปิดสอน 5 หลักสูตร คือ ระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สาขาวิชาวิศวกรรมเหมืองแร่ B.Eng (Mining Engineering) และปริญญาตรี โท และปริญญาเอก สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ B.Eng. (Materials Engineering) มีคณาจารย์ที่ทำการสอนอยู่ 15 คน ( มีคุณวุฒิปริญญาเอก 14 คน ปริญญาตรี 1 คน ) อยู่ระหว่างศึกษาระดับปริญญาโท - เอก 4 คน มีโครงการรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาละ 35 คนต่อปี โดยมาจากการคัดเลือกในภาคใต้ 20 คน จากการสอบคัดเลือกส่วนกลาง 10 คน และจากการเลือกเรียนปีที่ 2 อีก 5 คน ส่วนบัณฑิตศึกษารับปีละ 30 คน โดยจำนวน 5 คน เป็นนักศึกษาจากสาธารณรัฐประชาชาจีน ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาควิชาฯ กับ School of Materials and Chemistry, Jiangxi University of Science and Technology. นอกจากนั้นภาควิชาฯ ยังมีโครงการที่จะมีความร่วมมือในระดับบัณฑิตศึกษากับ Department of Materials Science and Engineering , Massachusetts Institute of Technology(MIT) , Northwestern University , CaseWestern Reserve University,USA , Department of Materials Science, Liverpool University, UK., Research Institute of Multidisciplinary for Advanced Materials Processing, Tohoku University, Japan เป็นต้น นอกจากนี้มีโครงการความร่วมมือกับต่างประเทศแล้ว ปัจจุบันภาควิชาฯ ยังมีความร่วมมือทางวิชาการกับวิศวกรรมเหมืองแร่อีก 2 สถาบัน คือ ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำหรับสาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ ได้มีโครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เปิดสอน หลักสูตรทางด้านวิศวกรรมวัสดุ เรียกว่า “MaE-NET”ร่วมมือด้านวิจัยกับสถาบันต่างๆ เช่น ศูนย์โลหะและวัสดุแห่งชาติ สถาบันไทย - เยอรมัน และสถาบันวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ภาควิชาฯ ได้พยายามปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนให้เข้าสู่ระบบสากลในด้านระบบ คุณภาพมีการปฏิบัติ 5 ส . และจะได้ขยายระบบคุณภาพให้เต็มรูปแบบเพื่อรองรับการพัฒนาการศึกษา โดยมุ่งเน้นการจัดทำหลักสูตรที่ยึดหลัก 3 Cs คือ Clean technology, Good Comminication และ Computer Application โดยได้สอดแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวกับหลักการดังกล่าวได้ในวิชาต่างๆ ตลอดจนได้สอดแทรกจริยธรรม และเน้นให้คิดเป็น ทำเป็น โดยมีภาคปฏิบัติ มีทัศนศึกษา และการฝึกงาน และมีหลักสูตรสหกิจศึกษา ( ฝึกงานทั้งภาคการศึกษา ) ให้เลือกเรียน เพื่อเน้นให้ผู้เรียนคิดอย่างเป็นระบบและสามารถทำวิจัยได้
ภาระกิจหลักของภาควิชาฯ นอกจากการเรียนการสอนดังกล่าวแล้ว ยังมีการวิจัย ซึ่งปัจจุบันภาควิชาฯ มีกลุ่มวิจัยทางด้านเหมืองแร่และสิ่งแวดล้อม (Mining and Environmental Research Group, MERG) และกลุ่มวิจัยวัสดุ (Materials Research Group, MRG) ซึ่งมีกลุ่มย่อย ดังนี้ คือ ทีมเซรามิกและวัสดุผสม ทีมโลหะและวัสดุผง ทีมยางและผลิตภัณฑ์ ทีมวัสดุนาโน ทีมวัสดุชีวการแพทย์ ทีมวัสดุรีไซเคิล และทีมวิจัยน้ำ
ภาควิชาฯ ได้ดำเนินงานวิจัยในโครงการต่างๆ ตามความสนใจของท้องถิ่นและความ เชี่ยวชาญของคณาจารย์ เช่น โครงการกำจัดฝุ่นจากการทำเหมือง สร้างและพัฒนาวัสดุผสมเหล็ก การติดตามการแพร่กระจายของโลหะหนักในแหล่งน้ำภาคใต้ เป็นต้น มีการเปิดหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้น โดยมุ่งเน้นการปฏิบัติในด้านการสำรวจออกแบบเหมืองหิน การวิจัยโลหะกรรมวัสดุผง โลหะบัดกรีไร้สารตะกั่ว การเคลือบผิววัสดุที่ทำความสะอาดง่าย วิจัยกระบวนการใหม่ๆ เช่น Atomization ( การผลิตโลหะผง ) การหล่อแบบ Semi-solid กระบวนการ Mechanical alloying เป็นต้น ตลอดจนวัสดุฉลาด เช่น วัสดุจำรูป การอบรมความรู้ทางเทคโนโลยีวัสดุ แร่ หิน และแหล่งแร่ เป็นต้น
สำหรับงานบริการวิชาและสังคม แบ่งออกได้เป็น
- การสำรวจด้านธรณีเทคนิค
- การสำรวจแหล่งน้ำใต้ดิน
- การตรวจสอบแร่และหิน ทั้งในระดับมหภาคและจุลภาค
- การวางแผนและการทำเหมืองและการแต่งแร่
- การให้คำปรึกษาในเรื่องวัสดุ และเทคโนโลยีวัสดุในกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มโลหะ เซรามิก วัสดุผง พอลิเมอร์ หรืออื่นๆ
- การตรวจจำแนกวัสดุ
- การวิเคราะห์ความเสียหายของวัสดุ
- การบริการทดสอบสมบัติของวัสดุ เช่น ความแข็ง สมบัติการขยายตัวและหดตัวภายใต้ความล้า เป็นต้น